Athlete Entertainment Center
13th ASIAN GAMES

โครงการ : อาคารสันทนาการ เอเซี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13
ลักษณะอาคาร :เป็นอาคารสันทนาการของนักกีฬา ในการแข่งขันเอเซี่ยนเกมส์ ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนของนักกีฬาทั้งหมด มีส่วนบริการต่างๆมากมาย เช่น Cinema, Fitness, Disco, Swimming Pool, Hair Salon ฯลฯรวมถึงลานวัฒนธรรมกลางแจ้ง
ที่ตั้งโครงการ : ที่ตั้งตั้งอยู่ในพื้นที่ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ติดกับบริเวณ Flag Plaza รูปร่างของที่ตั้งมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
พื้นที่อาคาร :6,000 ตารางเมตร
ปีที่ออกแบบ :พ.ศ.2541

ความเป็นมาของโครงการ : ในการแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม 2541 โดยประเทศไทยได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพของงานในครั้งนี้ ทางรัฐบาลได้กำหนดให้มีสนามกีฬา 3 แห่ง คือ เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ, การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นศูนย์กีฬาหลักในการแข่งขัน โดยประเภทกีฬาส่วนใหญ่ จะแข่งขันในสถานที่นี้ บนพื้นที่ 2,500 ไร่ ได้มีการวางผัง,ออกแบบ และกำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ โดยแบ่งกลุ่มอาคารเป็น

1.กลุ่มอาคารศูนย์สันทนาการ (INTERNATIONAL ZONE)
2. สนามกีฬาหลัก และ ศูนย์กีฬาทางน้ำ (MAIN STADIUM & AQUATIC CONTER)
3. กลุ่มอาคารยิมเนเซี่ยม (GYMNASIUM)
4. กลุ่มหมู่บ้านนักกีฬา (ATHETE VILLAGE)
5. สนามกีฬากลางแจ้ง และงานภูมิทัศน์
กลุ่มอาคารศูนย์สันทนาการ เป็นกลุ่มหนึ่งในห้ากลุ่มของศูนย์กีฬาหลัก ที่เป็นปราการแห่งแรกที่นักกีฬา ทุกประเภทที่เข้าแข่งขันต้องพบและจุดสุดท้ายที่ต้องจากไป เป็นกลุ่มอาคารที่อำนวยความสะดวกสบายแก่นักศึกษา ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการแข่งขัน ได้เข้ามาพักผ่อนและคลายความเคลียดพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสร้างความเป็นมิตรและความสามัคคีของชาติทุกชาติ ในภูมิภาคเอเชีย โดยในกลุ่มนี้ มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ประกอบด้วย
1. จุดเชิญธงของแต่ละประเทศที่เข้าแข่งขัน (Flag Plaza)
2. จุดทำบัตรตรวจสอบและควบคุมความปลอดภัย
3. อาคารสำนักงานคณะกรรมการการกีฬาแห่งชาติ
4. อาคารสันทนาการ (Athlete Entertainment Center)

แนวความคิด และการออกแบบ : อาคารสันทนาการถือเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งของศูนย์กีฬา แต่น่าจะเป็นส่วนที่แตกต่างจากส่วนอื่น ๆ ภายในศูนย์ เนื่องจากเป็น ที่ที่ใช้ในการพักผ่อนของนักกีฬาแทน ที่จะเป็นการแข่งขัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นดึงดูดให้ แนวความคิดหลักของโครงการเกิดขึ้น คือความรู้สึกของตัวอาคารที่ตัดขาดออกจากการแข่งขัน ซึ่งสัญลักษณ์ของการแข่งขัน ASIAN GAMES ก็คือดวงอาทิตย์ซึ่งในผังโดยรวมได้มีการออกแบบให้ FLAG PLAZA เป็นเสมือน ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬา ASIAN GAME ดังนั้นอาคารจึงไม่ได้โค้งไปตามแนวของ FLAG PLAZA และเพื่อแสดงถึงการแยกออกจากส่วนของการแข่งขัน จึงได้ออกแบบให้บริเวณของที่ตั้งโครงการที่ติดกับ FLAG PLAZA มีกำแผงกั้นและแบ่งแยก ระดับออกจากกันเพื่อสร้างความแตกต่างของพื้นที่ 2 ส่วน แต่ก็ยังคงมีเส้นสายแนวแกนโค้งจาก FLAG PLAZA มาพาดผ่านตัวอาคาร และมีแนวแกน ที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมระหว่าง FLAG PLAZA กับ TRANSPORTATION ทางด้านหลัง เป็นแนว AXIS ที่พุ่งมาจาก FLAG PLAZA ทะลุผ่าน ตัวอาคาร ออกไปทางด้านหลัง ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมของตัวอาคารออกแบบให้อาคารเป็น วางตัวเป็นรูปทรงตัว L เพื่อโอบล้อมพื้นที่บริเวณ CULTURAL PLAZA เอาไว้และด้านหลังเป็น SWIMMING POOL เพื่อให้ตัวอาคารเป็นล่มเงาให้กับพื้นที่ทั้งสองส่วนดังกล่าว

	      
home portfolio company profile technology design room contact us Welcome to BBoyBell Group, We are proud to present you IT service

I Home I Profile I Portfolio I Design I Contract Us I

Copyright © 2001 BBoyBell Group All Rights Reserved